วันอังคารที่ 13 เมษายน พ.ศ. 2553

เมืองเชียงคาน เมืองโบราณ..

       เมืองเชียงคาน เมืองโบราณ.. บ้านไม้เก่าๆ ร้านกาแฟ มุมหนังสือเล็กๆ เท่านั้น แต่กลับมีนักท่องเที่ยวที่ส่วนใหญ่เป็นวัยรุ่นหนุ่มสาว เดินเที่ยวกันให้เต็มไปหมด อาจจะด้วยเพราะเมืองเชียงคานนี้เงียบสงบ บรรยากาศดี ด้วยการที่ยังคงความเป็นเอกลักษณ์แต่ผสมผสานกับความเป็นสมัยใหม่ที่ไม่มากจนเกินไปได้อย่างลงตัวในแบบฉบับของเชียงคาน ผู้คนที่เชียงคานก็เป็นมิตร อัธยาศัยดี และการไปเที่ยวที่เชียงคานก็ไม่แพงจนเกินกำลัง ในอีกไม่กี่ปีข้างหน้าเชียงคานแห่งนี้ ก็จะเป็นที่รู้จักกันมากขึ้น หลายๆ สิ่งที่เชียงคานอาจเปลี่ยนแปลงไป อย่างไรก็ตาม เชียงคานจะไม่เปลี่ยนแปลงไป ถ้าเราทุกคนยังคงช่วยกันรักษาความเป็นเอกลักษณ์ ดำรงวิถีชีวิตในแบบของเชียงคานสืบไป ความเป็นเชียงคานที่คงความเป็นเอกลักษณ์ได้ยาวนานกว่าร้อยปี

 เชียงคาน....ในความทรงจำ

เชียงคาน เป็นชื่อที่ผมคุ้ยเคยเป็นอย่างดี แต่ยังไม่เคย
ได้ไปสัมผัสสักครั้ง ดังนั้นจึงตั้งไว้เป็นปณิธานเลยว่าใน
ชีวิตนี้ผมต้องไปเยือนที่แห่งนี้ให้ได้ และแล้วการค้นหา
ข้อมูลก็เริ่มขึ้น "เชียงคาน" เป็นอำเภอเล็กๆแห่งหนึ่ง
ของ จ.เลย บรรยากาศคล้ายเมืองปาย แต่สงบเงียบ
มากกว่า หากเปรียบ อ.ปาย เป็นสาวรุ่นที่กำลังเริ่มจะใจ
แตก เชียงคานก็ถือว่ายังเป็นเด็กน้อยวัยละอ่อน ที่ยังไร้การแต่งแต้มสีสันใส่จริต

วันอาทิตย์ที่ 11 เมษายน พ.ศ. 2553

วัดศรีคุณเมือง


        วัดศรีคุณเมือง ฃึ่อยู่ที่ถนนชายโขง ซอย 7 ถูกสร้างขึ้นเมื่อพ.ศ. 2485 วัดแห่งนี้เป็นแหล่งรวบรวมงานศิลปะทั้งแบบล้านนาและล้านช้างไว้มากมายดังจะเห็นได้จากโบสถ์ ซึ่งหลังคาลดหลั่นอย่างศิลปะล้านนาและ ศิลปวัตถุที่สำคัญมีหลายชิ้น เช่นพระพุทธรูปไม้จำหลัก ซึ่งลงรักปิดทองปางประทานอภัยแบบล้านช้าง และพระพุทธรูปดังกล่าวมีพระเกศาเป็นปุ่มแหลมเล็ก พระกรรณค่อนข้างแหลมและยาว ซึ่งสันนิษฐานว่ามีอายุในราวพุทธศตวรรษที่ 24-25 และนอกจากนี้ในวัดยังมีธรรมาสน์แกะสลักไม้ลงรักปิดทองทุกด้านที่พนักหลังมียอดคล้ายปราสาท และด้านหน้าโบสถ์มีภาพจิตรกรรฝาผนังอยู่เต็มหน้าบัน ภาพทั้งหมดเป็นภาพนิทานชาดกชุดพระเจ้าสิบชาติซึ่งถุกวาดขึ้นใหม่แทนของเดิม

วันศุกร์ที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2553

วัดพระพุทธบาทภูควายเงิน

           วัดพระพุทธบาทภูควายเงิน ตั้งอยู่ที่บ้านอุมุง ตำบลบุฮม การเดินทางนั้น ใช้เส้นทางสายเชียงคาน-ปากชม ระยะทางที่ไปประมาณ  6 กิโลเมตร ก็ถึงหมู่บ้านผาแบ่นและมีทางแยกเข้าบ้านอุมุง 3 กิโลเมตร ก็จะถึงทางขึ้นเขาซึ่งเป็นทางลูกรังระยะทาง 1 กิโลเมตร ก็จะถึงพระพุทธบาทภูควายเงินซึ่งจะเป็นรอยพระพุทธบาทยาวประมาณ 120 เซนติเมตร กว้าง 65 เซนติเมตร ซึ่งประดิษฐานบนหินลับมีด ที่ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานเมื่อ   พ.ศ. 2478 ซึ่งรอยพระพุทธบาทภูควายเงิน เป็นที่เคารพสักการะของชาวบ้านในแถบนี้อย่างมาก ในสมัยก่อนครั้งที่การเดินทางมานมัสการยังลำบาก ชาวบ้านเชื่อกันว่าคนที่มีบุญวาสนาเท่านั้นจึงจะเดินทางมากราบไหว้ได้ ต้องเป็นคนที่มีวาสนาไม่ถึงจะต้องมีเหตุให้มาไม่ได้ ทั้งที่ตั้งใจไว้อย่างเต็มที่ก็ตาม บางคนก็หลงทาง ทุกปีในวันขึ้น15 ค่ำ เดือน 3 ทางวัดจะจัดงานสมโภชประจำปีถือเป็นงานสำคัญของชาวบ้านในแถบนี้ ในปีนี้ก็เช่นกัน

วันพุธที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2553

เชียงคาน

 เชียงคาน หลายๆคนคงจะชอบบรรยากาศท่องในการเที่ยวต่างจังหวัด และหลีกหนีความแออัดจากการที่เราใช้ชีวิตประจำวันเข้าสู่บรรยากาศของชุมชนที่สงบและอยู่ท่ามกลางธรรมชาติ และทำให้สถานที่แห่งหนึ่งก็ได้รับความนิยมอย่างล้นหลาม  ด้วยผู้คนจำนวนมากเมื่อเทศกาลท่องเที่ยวหรือวันอยุดยาว

วันจันทร์ที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2553

เชียงคาน

      เชียงคาน เป็นอำเภอเล็กๆ ติดริมฝั่งแม่น้ำโขงมีความสงบเงียบ มีบ้านพัก และร้านอาหารและบริการล่องเรือเพื่อชมทิวทัศน์สองฝั่งโขง อย่างจุใจ นอกจากนี้ยังมีสินค้าที่ขึ้นชื่อของอำเภอเชียงคาน หลายอย่าง คือผ้านวม มะพร้าวแก้ว ซึ่งผู้ที่ไปเยือนไม่ควรพลาดเด็ดขาดที่จะซื้อเป็นของฝากและยังมีสถานที่ท่องเที่ยวให้นักเดินทางได้สัมผัสอีกด้วย

วันอาทิตย์ที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2553

การเดินทางสู่เชียงคาน


 การเดินทางโดยรถโดยสาร

การเดินทางโดยสารรถประจำทาง ท่านสามารถเดินทางได้โดยตรงจากสถานีขนส่งสายเหนือ(หมอชิต)
ด้วยรถโดยสารปรับอากาศ กรุงเทพฯ-เชียงคาน
สถานีข่นส่ง ปลายทาง อำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย
เดินทางโดยรถยนต์ส่วนตัว
ท่านสามารถเดินทางโดยรถยนต์ส่วนบุคคล ซึ่งมีความ สะดวกสะบายมากมาก ท่านสามารถเลือกเดินทางจากหลายเส้นทาง
* เส้นทางที่ 1 (550 กม.)
กรุงเทพฯ - เพชรบูรณ์ ระยะทาง (ประมาณ 350 กม.)
เพชรบูรณ์ - เขาค้อ - หล่มสัก - อ.ด่านซ้าย - ภูเรือ - เลย ระยะทาง (ประมาณ 240 กม.)
*เส้นทางที่ 2 ระยะทางประมาณ (590 กม.)
กรุงเทพฯ - นครราชสีมา ระยะทาง (ประมาณ 250 กม.)
นครราชสีมา - ชัยภูมิ - อำเภอชุมแพ ระยะทาง (ประมาณ 220 กม.)
อำเภอชุมแพ - ผานกเค้า - ภูกระดึง - อ.วังสะพุง - เลย ระยะทาง (ประมาณ 160 กม.)
* เส้นทางที่ 3 (660 กม.)
กรุงเทพฯ - ขอนแก่น ระยะทาง (ประมาณ 450 กม.)
ขอนแก่น - อำเภอชุมแพ ระยะทาง (ประมาณ 90 กม.)
จากอำเภอชุมแพ - ผานกเค้า - ภูกระดึง - อ.วังสะพุง - เลยระยะทาง (ประมาณ 160 กม.)

วันอาทิตย์ที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2553

ภูทอก

            ภูทอก ตั้งอยู่ทางทิศใต้ของเมืองเชียงคาน เป็นเพียงภูเขาลูกเล็กๆ แต่ภูทอกแห่งนี้ก็มีเสน่ห์ที่เป็น
จุดชมวิว ชมความงามของแม่น้ำโขง เมืองสานะคาม และแก่งคุดคู้ได้อย่างชัดเจน และเสน่ห์ยิ่งกว่านั้น
ของภูทอก ในฤดูฝนและฤดูหนาวจะถูกปกคลุมไปด้วยผ้าห่มหมอก หากได้มองจากยอดภูทอก
จะเห็นเป็นทะเลหมอกได้แบบรอบทิศเลยทีเดียว
การเดินทาง สามารถขับรถขึ้นไปได้ ไม่ว่าจะเป็นรถกระบะ รถเก๋ง เริ่มจากซอยข้างโรงพยาบาลเชียงคาน ตรงไปเรื่อยๆ จนถึงทางสามแยกตีนภูทอก แล้วเลี้ยวซ้ายตามถนนตัดใหม่ จะเป็นทางเข้า
สู่เส้นทางขึ้นยอดภูทอก หากไม่ทราบเส้นทางที่แน่ชัดก็สามารถสอบถามคนเชียงคานได้เลย

วันศุกร์ที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2553

รู้จักเมืองเชียงคาน

   เมืองเชียงคาน ตั้งอยู่ที่เมืองชะนะคาม ประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว สร้างโดย ขุนคามโอรสของขุนคัวแห่ง อาณาจักรล้านช้าง ประมาณพ.ศ. 1400 และ ต่อมาประมาณ พ.ศ.2250 อาณาจักรล้านช้างก็แยกออกเป็นสองอาณาจักรคืออาณาจักรหลวงพระบางซึ่งมี พระเจ้ากิงกีสราชเป็นกษัตริย์และอาณาจักรเวียงจันทน์ซึ่งมีพระเจ้าไชยองค์ ไว้เป็นกษัตริย์ โดยกำหนดอาณาเขตให้ดินแดนเหนือแม่น้ำเหืองขึ้นไปเป็นอาณาเขต หลวงพระบางและใต้แม่น้ำเหืองลงมาเป็นอาณาเจตเวียงจันทน์ ต่อมาทางหลวงพระบางได้สร้างเมืองปากเหืองซึ่งอยู่ฝั่งขวาของแม่น้ำโขง เป็นเมืองหน้าด่านและทางเวียงจันทน์ได้ตั้งเมืองเชียงคานเดิมเป็นเมืองหน้า ด่านเช่นกัน ต่อมาพ.ศ.2320 พระเจ้ากรุงธนบุรีโปรดให้เจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกกับพระสุ รสีห์ยกทัพไปตีกรุงเวียงจันทน์ตีเวียงจันทน์ได้จึงได้อันเชิญพระแก้วมรกต กลับมายังกรุงธนบุรีแล้วได้รวมอาณาจักรล้านช้างเข้าด้วยกันและให้เป็น ประเทศราชของไทยแล้วได้กวาดต้อนผู้คนพลเมืองมาอยู่เมืองปากเหืองมากขึ้นแล้ว โปรดเกล้าฯให้เมืองปากเหืองไปขึ้นกับเมืองพิชัย ต่อมาในสมัยรัชกาลที่3เจ้าอนุวงศ์เจ้าเมืองเวียงจันทน์คิดกอบกู้เอกราชเพื่อ แยกเป็นอิสระจากไทยโดยยกกำลังจากเวียงจันทน์มายึดเมืองนครราชสีมาแต่ในที่ สุดเจ้าอนุวงศ์ถูกจับขังจนสิ้นชีวิตกองทัพไทยที่ยกมาปราบเจ้าอนุวงศ์ที่ นครราชสีมาได้ยกทัพไปกวาดต้อนผู้คนจากฝั่งซ้ายของลำน้ำโขงมายังเมืองปาก เหืองมากขึ้นและโปรดเกล้าฯให้พระอนุพินาศ(กิ่งต้นสกุลเครือทองศรี) เป็นเจ้าเมืองปากเหืองคนแรกแล้วพระราชทานชื่อเมืองใหม่ว่าเมืองเชียงคาน ครั้น ถึงสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพวกจีนฮ่อได้ยกทัพมาตีเมือง เวียงจันทน์เมืองหลวงพระบางและได้เข้าปล้นสดมภ์เมืองเชียงคานเดิมที่อยู่ ฝั่งซ้ายของแม่น้ำโขงชาวเชียงคานเดิมจึงอพยพผู้คนไปอยู่เมืองเชียงคานใหม่ (เมืองปากเหือง)เป็นจำนวนมาก ครั้นต่อมาเห็นว่าชัย ูมิเมืองเชียงคานใหม่ (เมืองปากเหือง)ไม่เหมาะสมผู้คนส่วนใหญ่จึงอพยพไปอยู่ที่บ้านท่านาจันทร์ ซึ่งใกล้กับที่ตั้งของอำเภอเชียงคานปัจจุบัน แล้วตั้งชื่อใหม่ว่า เมืองใหม่เชียงคานต่อมาไทยได้เสียดินแดนฝั่งขวาแม่น้ำโขงให้กับฝรั่งเศส ทำให้เมืองปากเหืองตกเป็นของฝรั่งเศส คนไทยที่อยู่เมืองปากเหืองจึงอพยพมาอยู่เมืองใหม่เชียงคาน หรืออำเ อเชียงคานปัจจุบันโดยสิ้นเชิง“แล้วได้เปลี่ยนชื่อเมืองเป็นเมืองเชียงคาน ใหม่” ได้ตั้งที่ทำการอยู่บริเวณวัดธาตุ เรียกว่าศาลาเมืองเชียงคานต่อมาได้ ย้ายที่อยู่บริเวณวัดโพนชัย จนกระทั่งปี พ.ศ. 2452เมืองเชียงคาน ซึ่งมีพระยาศรีอรรคฮาด (ทองดีศรีประเสริฐ)ได้รับตำแหน่งนายอำเภอเชียงคานคนแรก ต่อมาปี พ.ศ. 2484 ได้ย้ายที่ว่าการอำเภอเชียงคานมาอยู่ ณ ที่อยู่ปัจจุบันตราบเท่าทุกวันนี้